วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

การบริการ(ต่อ)

การบริการนั้น จะเรียกว่าเป็นกิจกรรมที่ ผู้ให้บริการ ทำการส่งมอบให้ผู้รับบริการด้วยความตั้งใจก็ได้ ในความหมายทางการตลาด และวิชาการ  แต่ในปัจจุบันนี้ บุคคลซึ่งเข้ามาในธุรกิจบริการนั้น บางคนก็ไม่ได้มีใจให้กับงานบริการอย่างแท้จริง จึงมีความจำเป็นอย่างมากกก ที่จะต้องนำบุคคลเหล่านั้นมาฝึกฝน  จนเกิดความเคยชิน ติดเป็นนิสัย  จนกลายเป็นการกระทำที่มันเป็นธรรมชาติมากที่สุด จนบางคนก็หลงรักงานบริการไปโดยไม่รู้ตัวเลยก็มีนะ   จริงๆแล้วในงานบริการแต่ละอย่าง ก็ให้ทักษะที่ไม่เหมือนกันนะคะ แต่ว่ามีความคล้ายคลึงกันอยู่มากๆ เลยทีเดียว ไม่เชื่อก็ลองสังเกตุดูได้ เช่น การบริการในภัตตาคารญี่ปุ่น(ใกล้ตัวหน่อยนะคะ555) มันให้อะไรบางอย่างที่ติดตัวมา  กับคนที่ทำงานอยู่ตรงนั้นเป็นประจำ  ซึ่งถ้าถามกับบุคคลคนนั้นจริงๆแล้ว  เค้าก็จะตอบว่า  เค้าไม่รู้หรอกว่ามันให้อะไรกับเค้าบ้าง  แต่ถ้าคนภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  คนที่เป็นหัวน้าหรือผู้บริหารงานที่เกี่ยวกับงานบริการมานั่งมอง  เค้าก็จะบอกได้ทันทีว่า  คนคนนี้มีศักยภาพในงานบริการ  มากน้อย แค่ไหน หรือว่ามีทักษะด้านไหน  เหมาะสม หรือว่าไว้ใจให้สามารถทำอะไรในองค์กรได้บ้างนั่นเองค่ะ  แต่ทั้งนี้ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น  อาจจะไม่ถูกต้องก็ได้นะ  แต่แบบว่ารู้สึก หรือคิดผ่านมุมมองของคนที่  เคยต้องนั่งมองคนอื่นๆ  แล้วก็ตอบคำถามว่า คนคนนี้มีศักยภาพพอมั้ยสำหรับเรา ก็เท่านั้นเองค่ะ

1 ความคิดเห็น:

  1. เห็นด้วยครับ ท่าน (อดีต)ผู้จัดการ

    ทหารเราเอง บางทีเราก็ไม่รู้หรอกว่า ไอ้การถูกเคี่ยวเข็ญและฝึกเป็นประจำนั้น มันได้เปลี่ยนแปลงเราไปอย่างไม่รู้ตัวทีละน้อย จนบางสิ่งมันฝังอยู่ในตัวเรา การฝึกงานในภัตตาคารก็คงเหมือนกัน

    คนญี่ปุ่นเขาเป็นคนมีวินัย ถูกฝึกมาแต่เด็ก มีความรับผิดชอบสูง เวลาทำอะไรจริงจังเสมอ งานบริการเขาจึงคำนึงถึงคุณภาพ แม้ฝรั่งเองก็ยังยอมรับ

    ท่าทางหนึ่งจังจะได้อะไรดีๆ มาจากคนญี่ปุ่นเยอะ ถึงจะเป็นน้องใหม่ที่นี่ แต่ก็กระตือรือล้นนนน..ดีนะ

    ว่าแต่ไอ้ที่ได้มาจากภัตตาคารญี่ปุ่นน่ะ รวมถึงท่าคิกขุนั้นด้วยหรือเปล่าครับ 555

    ตอบลบ